วันจันทร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2551

แบบึดหัดบททที่6

1.ให้นร.วิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหาต่อไปนี้1.1หาพ.ท.ของรูปสามเหลี่ยมใดๆ เมื่อสูตรในการคำนวณพื้นที่รูปสามเหลี่ยมคือ 1/2 x สูง x ฐานตอบ 1.การระบุข้อมูลเข้าข้อมูลเข้าก็คือ ความสูงและความยาวฐานของรูปสามเหลี่ยมใดๆ2.การระบุข้อมูลออกจากโจทย์สิ่งที่เป็นคำตอบของปัญหาคือพ.ท.ของรูปสามเหลี่ยมนั้น3.การกำหนดวิธีการประมวลผลโจทย์ต้องการหาพ.ท.ของสามเหลี่ยม ก็นำความสูงและความยาวฐานของรูปสามเหลี่ยมใดๆ มาเข้าในสูตรหาพ.ท.สามเหลี่ยมมีขั้นตอนของการประมวลผลดังนี้3.1รับค่าความสูงและความยาวของรูปสามเหลี่ยม3.2 นำมาเข้าสูตร 1/2 x สูง x ฐาน (ได้ผลลัพธ์)1.2 ตอบ 1.การระบุข้อมูลรับเข้าคือ อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 8 ต่อปี เงินต้นครั้งแรก 1,000 บาท นายสมชายฝากเงิน 5 ปี2.การระบุข้อมูลออกคือ จากโจทย์สิ่งที่ต้องการหาคือจำนวนเงินทั้งหมดที่นายสมชายมีในบัญชีให้เป็นตัวแปร Y3.การกำหนดวิธีการประมวลผลโจทย์ต้องการจำนวนเงินทั้งหมด สามารถสรุปเป็นขั้นตอนในการประมวลผลได้ดังนี้3.1 หาจำนวนเงินดอกเบี้ยที่ได้ในแต่ละปีดอกเบี้ย 8% ต่อปี ปีแรก ได้ 1000 x 8/100 = 80 เงินในบัญชีปีแรก =1,080ปีที่ 2 ได้ 1080 x 8/100 = 86.4 เงินในบัญชีปีที่ 2 = 1080 + 86.4= 1,166.4ปีที่ 3 ได้ 1166.4 x 8/100 = 93.3 เงินในบัญชีปีที่ 3 = 1166.4 + 93.3 = 1,259.7ปีที่ 4 ได้ 1259.7 x 8/100 = 100.8 เงินในบัญชีปีที่ 4 = 1259.7 + 100.8 = 1360.5ปีที่ 5 ได้ 1360.5 x 8/100 = 108.8 เงินในบัญชีปีที่ 5 = 1360.5 + 108.8 = 1469.3เพราะฉะน้น y = 1469.5 บาท หรือ นายสมชายมีเงินในบัญชีธนาคารเมื่อครบ 5 ปี คือ 1469.50 บาท1.3ตอบ1.การระบุข้อมูลเข้าจากโจทย์ข้อมูลเข้าคือ- นักเรียนมีทั้งหมด 30 คน- คะแนนเต็ม 100 คะแนนมีเกณฑ์ให้คะแนนคือ > 80 ได้เกรด 470-79 ได้เกรด 360-69 ได้เกรด 250-59 ได้เกรด 1<>2.การระบุข้อมูลออกต้องการเกรดเฉลี่ย ของนร. ชั้นม. 4 จำนวน 30 คน3.การกำหนดวิธีการประมวลผล1.นำคะแนนเก็บของนักเรียนทั้ง 30 คน มาตรวจสอบ ว่าแต่ละคนได้ เกรดอะไร2.นำเกรดของทั้ง 30 คนมาบวกกัน3.นำเกรดที่บวกได้/จำนวนนร.ทั้งหมด4.ได้เกรดวิชาเทคโนโลยีและสารสนเทศของนร.2.จากข้อ1 เขียนผังงานแสดงขั้นตอนวิธีการในการแก้ปัญหาแต่ละข้อ1.2.





3. ตอบหากนักเรียนเป็นโปรแกรมเมอร์ ผู้พัฒนาโปรแกรมคำนวณเกรดเฉลี่ยของนักเรียนในโรงเรียน นักเรียนจะเลือกใช้ภาษาปาสคาล ภาษาจาวา หรือภาษาเดลฟายในการเขียนโปรแกรมดังกล่าว เพราะเหตุใดตอบ. จะให้เลือกภาษาปาสคาล เพราะว่าเป็นภาษาในกลุ่มโปรแกรมแบบโครงสร้าง ซึ่งมุ่งเน้นให้มีการแบ่งโปรแกรมออกเป็นส่วนย่อยๆชัดเจนจากนั้นจึงค่อยเชื่อมโยงทำให้สามารถจัดการได้โดยง่าย ภาษปาสคาลจึงเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสำหรับสร้างพื้นฐานความคิดในการเขียนโปรแกรมโครงให้แก่นักเรียน สามารถให้ทักษะในการเขียนโปรแกรมอย่างมีหลักเกณฑ์และถูกต้อง และสามารถอ่านและทำความเข้าใจได้ง่าย

วันจันทร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2551

แบบฝึดหัดบทที่ 5

1.จงบอกความหมายของซอฟต์แวร์
ตอบ.ชุดคำสั่งที่สั่งงานคอมพิวเตอร์เป็นลำดับขั้นตอนของการทำงานชุดคำสั่งเหล่านี้ได้จัดเตรียมไว้ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์
2.อธิบายประสิทธิภาพของซอฟต์แวร์ประมวลคำนอกเหนือจากที่กล่าวในบทเรียนมา 3 ข้อ
ตอบ.เป็นซอฟต์แวร์ในการนำตัวอักษรมาเรียงต่อเป็นคำ และเป็นการเตรียมเอกสารที่มองเห็นงานพิมพ์ไปปรากฏที่จอภาพ
ตอบ.เป็นซอฟต์แวร์ในการนำตัวอักษรมาเรียงต่อเป็นคำ และเป็นการเตรียมเอกสารที่มองเห็นงานพิมพ์ไปปรากฏที่จอภาพ
1.สามารถควบคุมการแสดงของตัวอักษรได้
2.ช่วยจัดการแก้ไขดัดแปลงข้อความเป็นกลุ่มได้
3.จะสร้างข้อมลูในตารางได้ง่ายและสะดวก

3.ระบบปฏิบัติการมีหน้าที่อะไร
ตอบ. ระบบปฏิบัติการทำหน้าที่ประสานงานหรือกำกับดูแลการทำงานของคอมพิวเตอร์ ในการกำหนดว่าจะเก็บโปรแกรมหรือข้อมูลเก็บไว้ในส่วนใดของหน่วย ความจำ ดูแลการติดต่อระหว่างส่วนต่างๆ ของคอมพิวเตอร์กับโปรแกรมใช้งานหรือผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ควบคุมการส่งสัญญาณจากคอมพิวเตอร์ขึ้นไปปรากฏบนจอภาพ ควบคุมการพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ ตัวอย่างเช่น ควบคุมการแปลสัญญาณจากแป้นพิมพ์ให้เครื่องรับรู้ ควบคุมการบันทึกหรือการอ่านข้อมูลของเครื่องขับแผ่นบันทึก
4.จงอธิบายลักษณะของซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะทาง
ตอบ. เป็นโปรแกรมที่ได้รับการออกแบบและพัฒนาสำหรับนำไปใช้งานเฉพาะด้าน หรือในสาขาใดสาขาหนึ่งตามความต้องการของผู้ใช้ โดยที่ผู้เขียนคือโปรแกรมเมอร์ (programmer) ที่มีความสามารถในการเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ และต้องศึกษาทำความเข้าใจเข้าใจงานและรายละเอียดของการประยุกต์นั้นเป็นอย่างดี เช่น โปรแกรมช่วยจัดการด้านการเงิน โปรแกรมช่วยจัดการบริการลูกค้า ฯลฯ ตามปกติจะไม่ค่อยได้พบเห็นซอฟต์แวร์ประเภทนี้ในท้องตลาดทั่วไป แต่จะซื้อหาได้จากผู้ผลิตหรือตัวแทนจำหน่ายในราคาค่อนข้างสูงกว่าซอฟต์แวร์ที่ใช้งานทั่วไป โครงสร้างของซอฟต์แวร์เฉพาะทางมักจะประกอบด้วย ฐานข้อมูลเพื่อใช้เก็บข้อมูลลูกค้า และระบบหลักของงาน ภายในซอฟต์แวร์ควรจะมีส่วนทำงานประมวลคำเพื่อใช้สร้างรายงาน ติดต่อโต้ตอบจดหมาย และการนัดหมายตามกำหนดการ ลักษณะของซอฟต์แวร์เฉพาะทางนี้ มีทั้งรูปแบบที่มีผู้ใช้งานคนเดียว หรือผู้ใช้งานได้พร้อมกันหลายคน ในประเทศไทยมีการใช้ซอฟต์แวร์ประเภทใช้เฉพาะทางอยู่บ้าง ส่วนใหญ่จะเป็นซอฟต์แวร์ที่บริษัทผู้ผลิตต่างประเทศได้ออกแบบมาเพื่อรองรับงานด้านธุรกิจ ในที่นี้ได้รวบรวมจัดประเภทไว้ดังนี้
5.อธิบายประสิทธิภาพของซอฟต์แวร์ตารางการทำงานนอกเหนือจากที่กล่าวในบทเรียนมา 3 ข้อ
ตอบ.ซอฟต์แวร์สำเร็จตารางทำงาน หรือกระดาษอิเล็กทรอนิกส์ เป็นเครื่องมือช่วยเพื่อการวิเคราะห์และคำนวณตัวเลขให้กับผู้ใช้ได้อย่างดี เพราะการใช้งานซอฟต์แวร์นี้ จะเปรียบเหมือนกับการนั่งทำงานอยู่บนโต๊ะทำงาน ที่มีกระดาษแผ่นใหญ่ๆ ประกอบด้วยตารางสี่เหลี่ยมของช่องตามแนวแถวและสดมภ์จำนวนมากมายปรากฏบนจอภาพ โดยแต่ละช่องบนตารางทำงาน ภายในซอฟต์แวร์ตารางทำงานจะมีฟังก์ชันต่างๆ จัดมาให้เลือกใช้เรียบร้อยแล้ว เช่น ฟังก์ชันการคำนวณทางคณิตศาสตร์ ฟังก์ชันการคำนวณทางสถิติ ฯลฯ ซึ่งฟังก์ชันเหล่านี้เปรียบได้กับเครื่องคิดเลขที่วางบนโต๊ะทำงาน ผู้ใช้สามารถนำข้อมูลจากช่องต่างๆ บนตารางเป็นตัวแปรของฟังก์ชันหรือสูตรคำนวณ เพื่อคำนวณให้ได้ผลลัพธ์ออกมา และนำไปใช้ในการคำนวณของช่องอื่นๆ ต่อไปได้อีก1.ฟังก์ชันการคำนวณทางคณิตศาสตร์2.ฟังก์ชันการคำนวณทางสถิติ3.ฟังก์ชันหรือสูตรคณิต
6.จงบอกประโยชน์ของซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมลู
ตอบ.ประโยชน์ของการใช้ฐานข้อมูลจะช่วยให้สามารถใช้ข้อมูลร่วมกัน ช่วยหลีกเลี่ยงความซ้ำซ้อนของข้อมูลที่จะเกิดขึ้น ช่วยขจัดความขัดแย้งของข้อมูลและสามารถกำหนดความเป็นมาตรฐานเดียวกันได้ง่าย เป็นต้น ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลช่วยให้ผู้ใช้ดำเนินการจัดการข้อมูลได้ง่าย และมีให้เลือกใช้ได้หลายซอฟต์แวร์ โดยเน้นให้ผู้ใช้สามารถสร้างแฟ้มข้อมูล ช่วยในการจัดเก็บ การขอดู การเรียกค้น การเพิ่มเติม การลบ การจัดเรียง และการทำรายงาน
7.แอสเซมบลีเป็นภาษาระดับใด และมีลักษณะอย่างไร
ตอบ. ภาษาแอสแซมบลี เป็นภาษาที่ใช้คำในอักษรภาษาอังกฤษเป็นคำสั่งให้เครื่องทำงาน เช่น ADD หมายถึง บวก SUB หมายถึง ลบ เป็นต้น การใช้คำเหล่านี้ช่วยให้การเขียนโปรแกรมง่ายขึ้นกว่าการใช้ภาษาเครื่องซึ่งเป็นตัวเลขล้วน ตารางที่ 5.1 แสดงตัวอย่างของภาษาระดับต่ำและภาษาเครื่องที่สั่งให้มีการบวกจำนวนที่เก็บอยู่ในหน่วยความจำ
8.ตัวแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องมีกี่ประเภท อะไรบ้างตอบ.ภาษาระดับสูงเป็นภาษาที่สร้างขึ้นเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการเขียนโปรแกรม กล่าวคือ ลักษณะของคำสั่งจะประกอบด้วยคำต่างๆ ในภาษาอังกฤษ ซึ่งผู้อ่านสามารถเข้าใจความหมายได้ทันที ผู้เขียนโปรแกรมจึงเขียนโปรแกรมด้วยภาษาระดับสูงได้ง่ายกว่าเขียนด้วยภาษาแอสแซมบลี หรือภาษาเครื่อง ภาษาระดับสูงมีมากมายหลายภาษา อาทิเช่น ภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN) ภาษาโคบอล ภาษาปาสคาล (Pascal) ภาษาเบสิก (BASIC) ภาษาวิชวลเบสิก (Visual Basic) ภาษาซี (C) และภาษาจาวา (Java) เป็นต้น โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาระดับสูงแต่ละภาษาจะต้องมีโปรแกรมที่ทำหน้าที่แปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง เช่น โปรแกรมแปลภาษาฟอร์แทรนเป็นภาษาเครื่อง โปรแกรมแปลภาษาปาสคาลเป็นภาษาเครื่อง คำสั่งหนึ่งคำสั่งในภาษาระดับสูงจะถูกแปลเป็นภาษาเครื่องหลายคำสั่ง ภาษาระดับสูงที่จะกล่าวถึงในที่นี้ ได้แก่ (1) ภาษาฟอร์แทรน (FORmula TRANslator : FORTRAN) จัดเป็นภาษาระดับสูงที่เก่าแก่ที่สุด ได้รับการคิดค้นขึ้นเป็นครั้งแรกราว พ.ศ. 2497 โดยบริษัทไอบีเอ็ม เป็นภาษาที่เหมาะสำหรับงานที่ต้องการการคำนวณ เช่นงานทางด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และงานวิจัยต่าง ๆ เนื่องจากแนวคิดในการเขียนโปรแกรมในระยะหลังนี้ เปลี่ยนมานิยมการเขียนโปรแกรมแบบโครงสร้างมากขึ้น ลักษณะของคำสั่งภาษาฟอร์แทรนแบบเดิม ไม่เอื้ออำนวยที่จะให้เขียนได้ จึงมีการปรับปรุงโครงสร้างของภาษาฟอร์แทรนให้สามารถเขียนโปรแกรมแบบโครงสร้างขึ้นมาได้ในปี พ.ศ. 2509 เรียกว่า FORTRAN 66 และในปี พ.ศ. 2520 สถาบันมาตรฐานของสหรัฐอเมริกา (American National Standard Institute หรือ ANSI) ได้ปรับปรุง FORTRAN 66 และยอมรับให้เป็นภาษาฟอร์แทรนที่เป็นมาตรฐานเรียกว่า FORTRAN 77 ใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีตัวแปลภาษานี้ (2) ภาษาโคบอล (Common Business – Oriented Language : COBOL) เป็นภาษาที่พัฒนาขึ้นในราว พ.ศ. 2502 ต่อมาได้รับการปรับปรุงจากคณะกรรมการซึ่งเป็นตัวแทนของหน่วยงานธุรกิจและรัฐบาลของสหรัฐอเมริกา เป็นภาษาโคบอลมาตรฐานใน พ.ศ. 2517 ภาษาโคบอลเป็นภาษาที่เหมาะสมสำหรับงานด้านธุรกิจ เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ส่วนมากมีโปรแกรมแปลภาษาโคบอล (3) ภาษาเบสิก (Beginner’s All - purpose Symbolic Instruction Code : BASIC)เป็นภาษาที่ได้รับการคิดขึ้นเป็นครั้งแรกที่วิทยาลัยดาร์ทมัธ (Dartmouth College) เผยแพร่เป็นทางการในปี พ.ศ. 2508 ภาษาเบสิกเป็นภาษาที่สร้างขึ้นโดยมีจุดประสงค์เพื่อใช้สอนเขียนโปรแกรมแทนภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาอื่น เช่น ภาษาฟอร์แทรน ซึ่งมีขนาดใหญ่และต้องใช้หน่วยความจำสูงในการทำงาน ซึ่งไม่เหมาะกับเครื่องคอมพิวเตอร์ในสมัยนั้น ภาษาเบสิกเป็นภาษาที่มีขนาดเล็ก เป็นตัวแปลภาษาชนิดที่เรียกว่าอินเตอร์เพรทเตอร์ ซึ่งนักเรียนจะได้เรียนในหัวข้อถัดไป นอกจากนี้ ภาษาเบสิกเป็นที่ง่ายต่อการเขียนซึ่งผู้เขียนจะสามารถนำไปประยุกต์กับการแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ทุกสาขาวิชา ผู้ที่เพิ่งฝึกเขียนโปรแกรมใหม่ ๆ หรือผู้ที่ไม่ใช่นักเขียนโปรแกรมอาชีพ แต่เป็นเพียงวิศวกร หรือนักวิจัย จะสามารถหัดเขียนโปรแกรมภาษาเบสิกได้ในเวลาไม่นานนัก ปกติภาษาเบสิกส่วนใหญ่ใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์ (4) ภาษาปาสคาล (Pascal) ตั้งชื่อตามนักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศสชื่อ เบลส ปาสคาล (Blaise Pascal ) ซึ่งได้กล่าวมาแล้วว่าเป็นผู้ผลิตเครื่องคิดเลขโดยใช้เฟืองหมุน ภาษาปาสคาลคิดขึ้นในปี พ.ศ. 2514 โดยนิคลอสเวียซ (Niklaus Wirth) ศาสตราจารย์วิชาคอมพิวเตอร์ชาวสวิส ภาษาปาสคาลได้รับการออกแบบให้ใช้ง่ายและมีโครงสร้างที่ดีจึงเหมาะกับการใช้สอนหลักการเขียนโปรแกรม ปัจจุบันภาษาปาสคาลยังคงได้รับความนิยมใช้ในการเรียนเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์(5) ภาษาซีและซีพลัสพลัส (C และ C++) ภาษาซีเป็นภาษาที่พัฒนาจากห้องปฏิบัติการเบลล์ของบริษัทเอทีแอนด์ทีในปี พ.ศ .2515 หลังจากที่พัฒนาขึ้นได้ไม่นานภาษาซีก็กลายเป็นภาษาที่นิยมในหมู่นักเรียนโปรแกรมมาก และมีใช้งานเครื่องทุกระดับ ทั้งนี้ เนื่องจากภษาซีได้รวมเอาข้อมูลของภาษาระดับสูงแลภาษาระดับเข้าไว้ด้วยกัน กล่าวคือ เป็นภาษาที่มีไวยกรณ์ที่เข้าใจง่ายทำให้เขียนโปรแกรมได้ง่ายเช่นเดียวกับภาษาระดับสูงทั่วไป แต่ประสิทธิภาพและความเร็วในการทำงานดีกว่ามาก เนื่องจากมีการทำงานเหมือนภาษาระดับต่ำ สามารถทำงานได้ในระดับที่เป็นการควบคุมฮาร์ดแวร์ได้มากกว่าภาษาระดับสูงอื่นๆ ดังจะเห็นว่าภาษาซีเป็นภาษาที่สามารถพัฒนาระบบปฏิบัติการได้ เช่น ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ นอกจากนี้เมื่อแนวคิดของการเขียนโปรแกรมแบบเชิงวัตถุ (Object Oriented Programing : OOP) ได้เข้ามามีบทบาทในวงการคอมพิวเตอร์มากขึ้น ภาษาซีก็ยังได้รับการพัฒนาดดยประยุกต์ใช้กับการเขียนโปรแกรมดังกล่าว เกิดเป็นภาษาใหม่ชื่อว่า ภาษาซีพลัสพลัส (C++) (6) ภาษาวิชวลเบสิก (Visual Basic) เป็นภาษาที่พัฒนาต่อมาจากภาษาเบสิก สำหรับภาษาวิชวลเบสิกเป็นภาษาที่ใช้ไวยกรณ์บางส่วนของภาษาเบสิกในการเขียนโปรแกรม แต่มีแยวคิดและวิธีการพัฒนาโปรแกรมที่แตกต่างจากภาษาเบลิกโดยสิ้นเชิง รวมทั้งการใช้เนื้อที่ในหน่วยความจำก็แตกต่างกันมาก ทั้งนี้ เนื่องจากภาษาวิชวลเบสิกใช้แนวคิดการเขียนโปรแกรมแบบรูปภาพ (visual programing) ในการพัฒนาโปรแกรม ภาษานี้พัฒนาขึ้นโดยบริษัทไมโครซอฟต์ ออกแบบเพื่อเขียนโปรแกรมที่สามารถใช้งานได้บนระบบปฏิบัติการแบบจียูไอ เช่น ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟต์วินโดวส์ มีการติดต่อกับผู้ใช้โดยใช้รูปภาพ การเขียนโปรแกรมทำได้ง่ายกว่าการเขียนโปรแกรมแบบเก่ามากซึ่งจะได้กล่าวในรายละเอียดในบทต่อไป (7) การเขียนโปรแกรมแบบจินตภาพ (visual programing) ในการพัฒนาโปรแกรม ภาษานี้พัฒนาขึ้นโดยบริษัทไมโครซอฟต์ ออกแบบเพื่อเขียนโปรแกรมที่สามารถใช้งานได้บนระบบปฏิบัติการแบบจียูไอ เช่น ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟต์วินโดวส์ มีการติดต่อกับผู้ใช้โดยใช้รูปภาพ การเขียนโปรแกรมทำได้ง่ายกว่าการเขียนโปรแกรมแบบเก่ามาก (8)ภาษาจาวา (JAVA) พัฒนาขึ้นในปี พ.ศ. 2534 โดยบริษัทซันไมโครซิสเตมส์ และเป็นภาษาที่ได้รับความนิยมสูงมาโดยตลอด เนื่องจากเป็นภาษาที่มีความยืดหยุ่นสูง สามารถเขียนโปรแกรม และใช้งานได้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกประเภท และระบบปฏิบัติการทุกรูปแบบ ในช่วงแรกที่เริ่มมีการนำภาษาจาวามาใช้งาน จะเป็นการใช้งานบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เป็นภาษาที่เน้นการทำงานบนเว็บ แต่ปัจจุบันสามารถนำมาประยุกต์สร้างโปรแกรมใช้งานทั่วไปได้ นอกจากนี้ เมื่อเทคโนโลยีของการสื่อสารก้าวหน้าขึ้น จนกระทั่งเครื่องคอมพิวเตอร์ปาล์มท็อป หรือแม้แต่โทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ตและใช้งานระบบเวิร์ดไวด์เว็บได้ ภาษาจาวาก็สามารถสร้างส่วนที่เรียกว่าแอพเพลต (applet) ให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่กล่าวข้างต้นเรียกใช้งานจากเครื่องที่เป็นแม่ข่าย (server) ได้ (9) ภาษาเดลไฟล์ (Delphi) เป็นภาษาที่ได้รับความนิยมมากภาษาหนึ่ง แนวคิดเขียนโปรแกรมภาษาเดลไฟล์เหมือนกับแนวคิดของภษาวิชวลเบสิกคือเป็นการเขียนโปรแกรมเชิงรูปภาพแต่ภาษาพื้นฐานที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมจะเป็นภาษาปาสคาล ในการเขียนโปรแกรมเชิงรูปภาพนี้มีคอมโพเนนต์ (component) ที่สามารถใช้เป็นส่วนประกอบเพื่อสร้างส่วนติดต่อผู้ใช้ที่เป็นแบบกราฟิกทำให้ซอฟต์แวร์ที่พัฒนามีความน่าสนใจและใช้งานง่ายขึ้น การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาเดลไฟล์จึงเป็นที่นิยมในการนำเป็นพัฒนาโปรแกรมใช้งานมาก รวมทั้งภาษาปาสคาลเป็นภาษาที่เข้าใจง่ายเหมาะแก่การนำมาใช้สอนเขียนโปรแกรม

วันจันทร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

วันจันทร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์

จุดกำเนิดของคอมพิวเตอร์
ต้นกำเนิดของคอมพิวเตอร์อาจกล่าวได้ว่ามาจากแนวความคิดของระบบตัวเลข ซึ่งได้พัฒนาเป็นวิธีการคำนวณต่าง ๆ รวมทั้งอุปกรณ์ที่ช่วยในการคำนวณอย่างง่าย ๆ คือ" กระดานคำนวณ" และ "ลูกคิด"
ในศตวรรษที่ 17 เครื่องคำแบบใช้เฟื่องเครื่องแรกได้กำเนิดขึ้นจากนักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศษ คือ Blaise Pascal โดยเครื่องของเขาสามารถคำนวณการบวกการลบได้อย่างเที่ยงตรง และในศตวรรษเดียวกันนักคณิตศาสตร์ชาวเยอร์มันคือ Gottried Wilhelm von Leibniz ได้สร้างเครื่องคิดเลขเครื่องแรกที่สามารถคูณและหารได้ด้วย
ในต้นศตวรรษที่ 19 ชาวฝรั่งเศษชื่อ Joseph Marie Jacquard ได้พัฒนาเครื่องทอผ้าที่สามารถโปแกรมได้ โดยเครื่องทอผ้านี้ใช้บัตรขนาดใหญ่ ซึ่งได้เจาะรู้ไว้เพื่อควบคุมรูปแบบของลายที่จะปัก บัตรเจาะรู(punched card) ที่ Jacquard ใช้นี้ได้ถูกพัฒนาต่อๆมาโดยผู้อื่น เพื่อใช้เป็นอุปกรณ์ป้อนข้อมูลและโปรแกรมเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคแรกๆ
ต่อมาในศตวรรษเดียวกัน ชาวอังกฤษชื่อ Charles Babbage ได้ทำการสร้างเครื่องสำหรับแก้สมการโดยใช้พลังงานไอน้ำ เรียกว่า difference engine และถัดจากนั้นได้เสนอทฤษฎีเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์สมัยใหม่ เมื่อเขาได้ทำการออกแบบ เครื่องจักรสำหรับทำการวิเคราะห์ (analytical engine) โดยใช้พลังงานจากไอน้ำ ซึ่งได้มีการออกแบบให้ใช้บัตรเจาะรูของ Jacquard ในการป้อนข้อมูล ทำให้อุปกรณ์ชิ้นนี้มีหน่วยรับข้อมูล หน่วยประมวลผล หน่วยแสดงผล และหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง ครบตามรูปแบบของคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ แต่โชคไม่ดีที่แม้ว่าแนวความคิดของเขวจะถูกต้อง แต่เทคโนโลยีในขณะนั้นไม่เอื้ออำนวยต่อการสร้างเครื่องที่สามารถทำงานได้จริง อย่างไรก็ดี Charles Babbage ก็ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาของคอมพิวเตอร์คนแรก และผู้ร่วมงานของเขาคือ Augusta Ada Byron ก็ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักเขียนโปรแกรมคนแรกของโลก

ชนิดของคอมพิวเตอร์

ชนิดของคอมพิวเตอร์
พัฒนาการทางคอมพิวเตอร์ได้ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง จากอดีตเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้หลอดสุญญากาศขนาดใหญ่ ใช้พลังงานไฟฟ้ามาก และอายุการใช้งานต่ำ เปลี่ยนมาใช้ทรานซิสเตอร์ที่ทำจากชินซิลิกอนเล็ก ๆ ใช้พลังงานไฟฟ้าต่ำ และผลิตได้จำนวนมาก ราคาถูก ต่อมาสามารถสร้างทรานซิสเตอร์จำนวนหลายแสนตัวบรรจุบนชิ้นซิลิกอนเล็ก ๆ เป็นวงจรรวมที่เรียกว่า ไมโครชิป (microchip) และใช้ไมโครชิปเป็นชิ้นส่วนหลักที่ประกอบอยู่ในคอมพิวเตอร์ ทำให้ขนาดของคอมพิวเตอร์เล็กลง
ไมโครชิปที่มีขนาดเล็กนี้สามารถทำงานได้หลายหน้าที่ เช่น ทำหน้าที่เป็นหน่วยความจำสำหรับเก็บข้อมูล ทำหน้าที่เป็นหน่วยควบคุมอุปกรณ์รับเข้าและส่งออก หรือทำหน้าที่เป็นหน่วยประมวลผลกลาง ที่เรียกว่า ไมโครโพรเซสเซอร์ ไมโครโพรเซสเซอร์ หมายถึงหน่วยงานหลักในการคิดคำนวณ การบวกลบคูณหาร การเปรียบเทียบ การดำเนินการทางตรรกะ ตลอดจนการสั่งการเคลื่อนข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง หน่วยประมวลผลกลางนี้เรียกอีกอย่างว่า ซีพียู (Central Processing Unit : CPU

ความหมายของคอมพิวเตอร์

ความหมายของคอมพิวเตอร์
ปัจจุบันคนส่วนใหญ่มีความเชื่อกันว่า การมีความรู้เกี่ยวกับ การใช้งานคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ ส่วนบุคคลหรือที่รเยกกันโดยทั่วไปว่า personal computer นั้น เป็นความสามารถหรือความชำนาญขั้นพื้นฐานที่จำเป็น ในการดำเนินชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประกอบธุรกิจ ให้ประสบความสำเร็จ
เนื่องจากปริมาณการใช้คอมพิวเตอร์ และคุณสมบัติของ คอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพเพิ่มมาก ขึ้นส่งผลให้คนจำนวนมาก เชื่อว่าแต่ละคน จำเป็นต้องมีความรู้พิ้นฐานด้านคอมพิวเตอร์กล่าวคือ รู้วิธีการใช้คอมพิวเตอร์ได้อย่างเหมาะสม อย่างไรก็ตาม โลกปัจจุบันซึ่งเป็นโลกของเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือที่มักเรียกกันว่า เป็นยุคของข้อมูลข่าวสาร การมีความรู้ในการใช้คอมพิวเตอร์ เพียงอย่างเดียวนั้นถือว่า ไม่เพียงพอต่อไปแล้ว บุคคลจำเป็นต้องเรียนรู้การบริโภคข้อมูล ข่าวสาร และสามารถวิเคราะห์ข่าวสารที่มีอยู่เป็นจำนวนมากให้เกิด ประโยชน์ได้
ความหมายของคอมพิวเตอร์ นักวิชาการหลายท่านได้กำหนดหรือนิยามความหมายของ คอมพิวเตอร์ไว้หลายความหมาย แต่เมื่อพิจารณาโดยภาพรวมแล้ว ความหมายของคอมพิวเตอร์จะหมายถึง อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างหนึ่งมทที่สามารถรับโปรแกรมและข้อมูล ประมวลผล สื่อสารเคลื่อนย้ายข้อมูลและแสดงผลลัพธ์ได้

วันจันทร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2551

เทคโนโลยีสารสนเทศ

ยเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT) หรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technologies: ICTs) ก็คือ เทคโนโลยีสองด้านหลัก ๆ ที่ประกอบด้วยเทคโนโลยีระบบคอมพิวเตอร์ และ เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมที่ผนวกเข้าด้วยกัน เพื่อใช้ในกระบวนการจัดหา จัดเก็บ สร้าง และเผยแพร่สารสนเทศในรูปต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเสียง ภาพ ภาพเคลื่อนไหว ข้อความหรือตัวอักษร และตัวเลข เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้อง ความแม่นยำ และความรวดเร็วให้ทันต่อการนำไปใช้ประโยชน์


ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมี 5 ประการ (Souter 1999: 409) ได้แก่
ประการแรก การสื่อสารถือเป็นสิ่งจำเป็นในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ สิ่งสำคัญที่มีส่วนในการพัฒนากิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ประกอบด้วย Communications media, การสื่อสารโทรคมนาคม (Telecoms), และเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT)
ประการที่สอง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารประกอบด้วยผลิตภัณฑ์หลักที่มากไปกว่าโทรศัพท์และคอมพิวเตอร์ เช่น แฟกซ์, อินเทอร์เน็ต, อีเมล์ ทำให้สารสนเทศเผยแพร่หรือกระจายออกไปในที่ต่าง ๆ ได้สะดวก
ประการที่สาม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีผลให้การใช้งานด้านต่าง ๆ มีราคาถูกลง
ประการที่สี่ เครือข่ายสื่อสาร (Communication networks) ได้รับประโยชน์จากเครือข่ายภายนอก เนื่องจากจำนวนการใช้เครือข่าย จำนวนผู้เชื่อมต่อ และจำนวนผู้ที่มีศักยภาพในการเข้าเชื่อมต่อกับเครือข่ายนับวันจะเพิ่มสูงขึ้น
ประการที่ห้า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทำให้ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ และต้นทุนการใช้ ICT มีราคาถูกลงมาก